ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์  (E-Portfolio)  ของครูวรรธนะ  คัทจันทร์

ข้อมูลผู้ประเมิน

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

 1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 12 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รายวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น 1 (ว20284) จำนวน 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

  รายวิชาการเขียนโปรแกรม 1 (ว31283) จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์            

รายวิชาปฏิบัติการวิทย์ (ว30284) จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์         

           รายวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 2 (ว32181) จำนวน 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์   

รายวิชาอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (ว32281)     จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์           

          รายวิชา ชุมนุม (ก30913) จำนวน - ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์ 


1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์

กิจกรรมโฮมรูม     จำนวน - ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์ 

ประชุมระดับ     จำนวน - ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์ 

งานดูแลนักเรียนประจำวัน     จำนวน 2 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์

การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้     จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์ 

การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน     จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

จัดทำแบบทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล     จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)     จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์


1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 4 ชั่วโมง 10 นาที/สัปดาห์

    หัวหน้างานศูนย์คอมพิวเตอร์     จำนวน 4 ชั่วโมง 10 นาที/สัปดาห์    


ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการคือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)


ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพัฒนาระบบ IoT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชา อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) 


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

  สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมจำนวนมากมาย ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในปัจจุบันและอนาคต และยังเป็นแรงผลักดันให้ประเทศไทยมีโอกาสสร้างนวัตกรรมไปแข่งขันในระดับนานาชาติ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้า และให้สามารถดำรงชีวิตในการแข่งขันในตลาดแรงงานได้  หลักสูตรห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ มีรายวิชาที่เน้นกระบวนการ ที่นักเรียนสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง หรือใช้ประกอบอาชีพในอนาคตได้ การสอนในรายวิชา จะไม่เน้นการท่องจำสูตรหรือทฤษฎีต่างๆ จะเป็นการฝึกให้ผู้เรียน รู้จักวิธีการคิด การตั้งคำถาม การแก้ปัญหา และสร้างนวัตกรรมจากปัญหาที่พบเจอ รวมไปถึงการคิดค้น เพื่อหาองค์ความรู้ใหม่ๆจากประสบการณ์ที่พบเจอมา นักเรียนสามารถ นำความรู้มาบูรณาการกัน เพื่อมุ่งแก้ปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะใช้ทักษะในการหาความรู้ด้วยตนเอง ทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา ทักษะการพัฒนานวัตกรรม  ซึ่งนักเรียนสามารถจัดทำได้ในรูปแบบของโครงงาน

  การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เป็นการศึกษาเพื่อค้นพบความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ วิธีการใหม่ด้วยตัวของนักเรียนเอง นักเรียนที่เรียนในรายวิชาอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งจะต้องใช้ องค์ความรู้ต่างๆที่ ได้เรียนมา โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะ ของการพัฒนานวัตกรรม โดยมีคุณครู เป็นผู้ให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ๆ ซึ่งนักเรียนหลายคนไม่เคยรู้หรือไม่เคย มีประสบการณ์มาก่อน ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานนั้น เป็นการที่ให้ครูเป็นผู้กระตุ้นเพื่อนำความสนใจที่เกิดจากตัวนักเรียนมาใช้ ทำกิจกรรมที่นักเรียนจะต้องสามารถค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง นำความรู้ที่ได้มาลงมือปฏิบัติ โดยใช้การสังเกต และการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม มีการเขียนกระบวนการจัดทำโครงงาน ได้ผลจากการจัดกิจกรรมเป็นรูปธรรม

  จากเหตุผลดังที่กล่าวมานั้น ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อพัฒนาความสามารถให้นักเรียนนำกระบวนการคิดวิเคราะห์ไปใช้เป็นรากฐานในการพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ และใช้ความรู้ที่มีอยู่นั้นให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้ ข้าพเจ้าจึงได้จัดทำประเด็นท้าทายเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพัฒนาระบบ IoT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชา อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)  ที่เน้นให้นักเรียนออกแบบและพัฒนาโครงงานอย่างสร้างสรรค์ ที่อาศัยองค์ความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน เพื่อสร้างผลงานออกมาในรูปแบบของนวัตกรรม ที่สร้างจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย และเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองวิทยาคม จุดประสงค์การเรียนรู้ ในเนื้อหา เรื่อง การพัฒนาระบบ IoT

2.2 วิเคราะห์ และกําหนดเนื้อหาเพื่อความเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)  

2.3 ออกแบบกิจกรรมและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาระบบ IoT ให้สอดคล้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ 

2.4  สร้างสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)  

2.5  ให้คุณครูในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสมาชิกในกลุ่ม PLC ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรม และภาระงาน พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข

2.6  ครูผู้สอนนำแผนการจัดการเรียนรู้มาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

2.7  ประเมินผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน เรื่อง การพัฒนาระบบ IoT  ด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน 

2.8  นำแผนการจัดการเรียนรู้ทีได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชา อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ว32281 ให้แก่นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 

2.9  บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และการสอนซ่อมเสริม และทำการทดสอบใหม่ จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

3.1 เชิงปริมาณ : นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ระดับชั้น ม.5 จำนวน 1 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 36 คน ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพัฒนาระบบ IoT ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)  โดยมีคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  

3.2 เชิงคุณภาพ : นักเรียนมีทักษะทางการเรียนรู้รายวิชา อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง สูงขึ้น


เอกสารหลักฐาน และ คลิปการจัดการเรียนรู้

PA1 แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน วรรธนะ 2566.pdf

แบบประเมินตนเอง

1แบบประเมินตนเองตามบันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน 2566 ชำนาญการ.pdf